วิธีดูแลหลังเจาะ
After Care
การดูแลรักษาแผลหลังการเจาะหู Ear
- ล้างมือให้สะอาด : ล้างมือให้สะอาดก่อนเริ่มขั้นตอนการดูแล
- ล้างแผลด้วยน้ำเกลือล้างแผลวันละ 2 ครั้ง ใช้ก้านสำลีหรือสำลีแผ่นชุบน้ำเกลือชุ่ม ๆ เช็ดที่บริเวณแผลเบา ๆ
- ล้างคราบน้ำเหลืองคราบเลือดออกให้หมด หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ล้างแผลโดยตรง หรือ น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีความเข้มข้นสูงจะทำให้เกิดการระคายเคือง
- ไม่จับขยับหมุนต่างหูหรือจิวเล่นเพราะจะทำให้ติดเชื้อ และ แผลหายช้า ถ้ามีความจำเป็นให้ทำความสะอาดมือก่อนจับทุกครั้ง
- ห้ามว่ายน้ำ สระ,ทะเล,แหล่งน้ำธรรมชาติ, ซาวน์น่า หรือแช่น้ำนาน ๆ อย่างน้อย 4-6 สัปดาห์ ถ้าแผลโดนน้ำให้ล้างน้ำเกลือตามด้วยทุกครั้ง
- ระมัดระวังตอนทำให้แผลแห้ง : หลังจากทำความสะอาดแผลแล้วควรทำให้แผลแห้งสนิท ไม่ชื้น เช่นเป่าพัดลม หรือใช้ไดร์เป่าผมลมเย็น หลักเลี่ยงการใช้ผ้าเช็ดตัวหรือผ้าที่เป็นขลุยตัวมาเช็ดแผลเพราะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคและขลุ่ยผ้าอาจเกี่ยวกระชากต่างหูหรือจิว
- หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ใส่ผมต่าง ๆ น้ำหอม หรือ เครื่องเครื่องสำอาง บริเวณแผล เพราะอาจจะทำให้แพ้อักเสบหรือติดเชื้อ
- ไม่ควรเปลี่ยนต่างหูหรือจิวเร็วเกินไปถ้าแผลยังไม่หายสนิท
- มาพบช่างถ้าเกิดอาการผิดปกติเพื่อรับคำแนะนำในการรักษา , ระยะเวลาแผลหายแตกต่างกันไปแล้วแต่ร่างกายของแต่ละบุคคล
การดูแลรักษาแผล ปาก / ลิ้น (Tongue) / เหงือก (Smiley) / ทังทาย (Web)
- ทำความสะอาดปาก: บ้วนปากด้วยน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากที่ปราศจากแอลกอฮอล์หลังอาหาร และของว่างทุกมื้อ สิ่งนี้จะช่วยกำจัดเศษอาหารและแบคทีเรียที่สามารถสะสมบริเวณรอยเจาะ
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่แผล: หลีกเลี่ยงการสัมผัสที่แผลด้วยมือที่สกปรกหรือเล่นจับจิวเล่น เพราะอาจทำให้เกิดติดเชื้อแบคทีเรียและระยะเวลาแผลหายนานขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสทางปาก เช่น การจูบ การมีเพศสัมพันธ์ทางปาก หรือการใช้อุปกรณ์ดูแลปากร่วมกับ ผู้อื่น เนื่องจากอาจทำให้เกิดแบคทีเรียและระยะเวลาแผลหายนานขึ้น
- หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มรสเผ็ดร้อนหรือเป็นกรดเนื่องจากอาจทำให้แผลระคายเคืองได้ เลือกรับประทานอาหารที่นิ่มและรับประทานง่ายในช่วงระยะแรก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์: การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์สามารถชะลอระยะเวลาแผลหาย และเพิ่มความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนเช่นติดเชื้อหรืออักเสบ พยายามงดจนกว่าแผลจะหายสนิท
- ระมัดระวังการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก: หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่มีสารเคมีรุนแรง เนื่องจากอาจทำให้แผลที่เจาะ ระคายเคืองและขัดขวางกระบวนการรักษาได้
วิธีดูแลหลังเจาะ สะดือ (Belly) / Nipple (หัวนม)
- ทำความสะอาดมือ: ก่อนสัมผัสแผลหรือทำตามขั้นตอนหลังการดูแลใดๆ ควรล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่แอนตี้แบคทีเรียเพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อโรคเข้าสู่แผล
- ทำความสะอาดแผล: ทำความสะอาแผลวันละสองครั้งโดยใช้น้ำเกลือหรือน้ำยาดูแลหลังการเจาะที่ช่างเจาะแนะนำ ใช้สำลีหรือแผ่นชุบน้ำเกลือแล้วแปะไว้ที่แผล บีบสำลีเบาให้น้ำเกลือซึมเข้าไปในบริเวณแผลสัก 2-3นาที ซึ่งจะช่วยขจัดสิ่งสกปรก คราบน้ำเหลือง คราบเลือดออก หลีกเลี่ยงการใช้แอลกอฮอล์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อที่รุนแรง เพราะอาจทำให้แผลเกิดการระคายเคืองได้
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือหมุนจิว: งดการสัมผัสแผลโดยไม่จำเป็น เนื่องจากอาจเพิ่มแบคทีเรียและทำให้กระบวนการสมานแผลยืดเยื้อ หลีกเลี่ยงการหมุนหรือบิดเครื่องประดับ เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคือง อักสบ และทำให้ระยะเวลาแผลหายล่าช้า
- สวมเสื้อผ้าที่หลวม: เลือกเสื้อผ้าที่หลวมโดยเฉพาะบริเวณสะดือเพื่อลดการเสียดสีและการระคายเคืองต่อการเจาะ เสื้อผ้าที่คับแน่นสามารถเสียดสีกับแผลทำให้อักเสบได้
- หลีกเลี่ยงการลงน้ำ: ในช่วง 4-8 สัปดาห์แรกหลังการเจาะ หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระ น้ำทะเล อ่างน้ำร้อน หรือแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากอาจมีแบคทีเรียและสารระคายเคืองที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ นอกจากนี้ หลีกเลี่ยงการแช่ในอ่างอาบน้ำหรืออาบน้ำนานๆ
- ระวังกิจกรรมต่างๆ: หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนักๆ เช่น การออกกำลังกายอย่างหนัก การเล่นกีฬาที่มีการปะทะ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการยืดหรือดึงบริเวณหน้าท้องมากเกินไป กิจกรรมเหล่านี้อาจทำให้เกิดการระคายเคืองและทำให้การระยะเวลาแผลหายนานขึ้น
- หลีกเลี่ยงกิจกรรม : ที่ทำให้แผลกระทบกระเทือน เช่นการสัมผัสรุนแรง กิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออกเยอะ หรือจับจิวเล่น และงดกิจกรรมทางเพศที่จะสัมผัสกับบริเวณแผล
- การเจาะเจาะสะดือใช้เวลาหลายเดือนในการรักษาให้หายสนิท ประมาณ 8-12 เดือน
- การเจาะเจาะหัวนมใช้เวลาหลายเดือนในการรักษาให้หายสนิท ประมาณ 3-6 เดือน
- ในระหว่างระยะเวลาแผลหาย เป็นเรื่องปกติที่จะมีอาการแดง บวม หรือหนอง อย่างไรก็ตาม หากคุณสังเกตว่ามีอาการเจ็บปวดมากเกินไป มีรอยแดงอย่างต่อเนื่อง บวม หรือมีสัญญาณของการติดเชื้อ (เช่น มีหนองหรือมีกลิ่นเหม็น) ให้ไปพบแพทย์ทันที หรือปรึกษาช่างเจาะผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำการดูแลรักษาเบื้องต้น
วิธีดูแลแผลเจาะแบบฝังจิว
- ปิดแผ่นพลาสเตอร์ เพื่อกดหัวจิวไว้ไม่ให้ดีดตัวออก ประมาณ 3-4 อาทิตย์ ***สำคัญมาก***
- งดว่ายน้ำสระ น้ำทะเล เซาว์น่า หรือ แหล่งน้ำธรรมชาติระหว่างที่แผลยังไม่หาย.
- ล้างแผลด้วยน้ำเกลือทำความสะอาดแผล วันละ 2 ครั้ง (หลังอาบน้ำ)
- เปลี่ยนพลาสเตอร์อันใหม่ ทุกครั้งหลังล้างแผล อย่างเบามือ
- ไม่จับ แคะ แกะ เกา บริเวรแผล
- งดของหมักดอง แอลกอฮอล์***